แผลเน่า แผลเบาหวาน แผลกดทับ รักษาได้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยไม่ต้องพึ่งหมอ!

0

แผลเน่า แผลเบาหวาน แผลกดทับ รักษาได้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยไม่ต้องพึ่งหมอ!

แผลกดทับ หมายถึง ช่วงบริเวณเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ที่มีการตาย เนื่องจากขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง จากการถูกกดทับเป็นเวลาอันนาน สำหรับส่วนที่พบแผลกดทับบ่อยนั้นคือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือส่วนปุ่มกระดูก ที่พบส่วนมากคือบริเวณปุ่มกระดูกก้นกบ ตามตุ่ม และส้นเท้า อีกสิ่งหนึ่ง คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ไทรอยด์ หรือมีการบวมซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนเลือด อาหารที่ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ เมื่อสารอาหารและออกซิเจนน้อยลงก็จะเกิดส่วนที่เป็นแผลกดทับได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโลหิตจางก็ควรระวัง สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับด้านโภชนาการไม่ดี วันนี้เลยขอแนะนำสูตรรักษา

สูตรยารักษาแผลเบาหวาน ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ที่คนเป็นเบาหวานควรรู้!

  1. น้ำมันมะพร้าว 1000 ซีซี หรือ 1 ลิตร
  2. ไข่แดง 4-6 ฟอง (ถ้าได้ไข่เป็ดยิ่งดี เอาเฉพาะไข่แดงนะคะ ขนาดเบอร์ 0 ดูไข่ที่มีลักษณะกลมๆ ป้อมๆ จะมีน้ำมันเยอะ)
  3. ลูกหมากสดแก่ๆ 2 ลูก (ใช้เฉพาะเนื้อแดงๆ ข้างใน)
  4. สารส้มสตุ 1 หัวแม่โป้ง (วิธีสตุ คือ นำสารส้มมาทุบๆให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วใส่ตะหลิว ตั้งบนไฟ ให้สารส้มระเหยเป็นผงๆขุ่นๆ)

วิธีทำ

  1. ใช้ผ้าขาวบาง ปูบนชามแกง บ้านเรานี่แหละ
  2. เอาไข่แดงที่แยกเรียบร้อยแล้ว ใส่ลงบนผ้าขาวบาง แล้วตีให้เป็นเนื้อเดียวกันเบาๆ
  3. ทุบเนื้อหมาก ให้แตกๆ ใส่ลงไปในผ้าขาวบางที่มีไข่ตีแล้ว
  4. ใส่สารส้มสตุ ลงไป แล้วผูกผ้าขาวบางให้เรียบร้อย
  5. เอาน้ำมันมะพร้าวตั้งไฟอ่อนๆ
  6. เอาผ้าขาวบาง หย่อนลงไป
  7. รอจนน้ำมันมะพร้าวเดือดปุดๆ แล้วมีน้ำมันไข่แดงออกมา
  8. สังเกตว่าจะเริ่มมีฟอง ก็ใช้ได้
  9. น้ำมันยาที่ได้จะมีสีเหลืองๆ อมส้ม
  10. เอาน้ำมันที่ได้ กรอกใส่ขวดไว้เป็นยาใส่แผล

ซึ่งข้อดีของการใส่แผลด้วยยาจากน้ำมันมะพร้าวผสมไข่แดงนั้น คือ ไม่ต้องล้างและคว้านแผล แผลจะค่อยๆดูดน้ำมันยา เข้าไปหล่อเลี้ยงและฟื้นฟูแผล ตัวที่ประสานแผลคือหมาก สารส้มจะมีฤทธิ์ช่วยดูดหนอง ไข่แดงคือเลซิตินที่ทำให้เซลส์ประสาทงอกขึ้นมาและดึงออกซิเจนเข้าแผลได้มาก ยิ่งขึ้นแผลจะตื้นขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วไม่เป็นแผลเป็น

สำหรับพ่อแม่พี่น้อง ที่ต้องดูแลผู้ป่วยมีแผลเบาหวาน แต่ไม่มีกำลังทรัพย์ ไปปลูกถ่ายสเตมเซลส์ ก็ลองวิธีนี้ดู อาจารย์บอกว่า รักษาดีกว่าแผนปัจจุบัน ที่ต้องขูดแผล ล้างแผลทุกวัน อันนี้ล้างครั้งแรก แล้วหยอดยาได้ตลอด แผลจะค่อยๆ ตื้นขึ้นมา

เพิ่มเติมประโยชน์ของหมาก

  1. เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ เช่น สุนัข ไก่ชน และแกะ ด้วยการนำผลแก่มาบดให้สัตว์กิน
  2. ใช้กำจัดหนอน ในเวลาที่วัวหรือควายเป็นแผลมีหนอน จะทำให้หนอนตายหมด
  3. ส่วนยอดอ่อนของลำต้นสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารจำพวกผักได้ ส่วนจั่นหมากหรือดอกหมากเมื่อยังอ่อนอยู่ก็ใช้รับประทานเป็นอาหารได้เช่นกัน
  4. ช่อดอกซึ่งมีกลิ่นหอมจะถูกนำมาใช้ในงานแต่งงานและงานศพ
  5. ใบหมากหรือทางหมาก (รวมกาบ) มีประโยชน์อย่างมากต่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวสวน เพราะชาวสวนจะใช้ก้านทางที่มีใบมาผูกห้อยตรงช่องทางเข้าออกของซึ่งเป็นที่จับถ่ายของชาวสวน เพราะช่วยบังตาได้เป็นอย่างดี และชาวสวนยังใช้ทางหมากแห้งนำมาทำเป็นเสวียนขนาดใหญ่สำหรับรองรับกระทะใบบัวขนาดใหญ่ในขณะที่กวนน้ำตาลองุ่นให้เป็นน้ำตาลปี๊บอีกด้วย
  6. กาบใบนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำภาชนะ เครื่องจักสาน หรือวัสดุห่อหุ้มสิ่งของได้ ปลอกมีด ในสมัยก่อนเด็ก ๆ จะนำมาทำเป็นของเล่น คือ รถลาก โดยให้เด็กคนหนึ่งนั่งลงบนกาบใบ มือจับไว้ที่โคนทาง แล้วให้เด็กอีกคนหนึ่งจับที่ปลายทางส่วนที่เหลือใบไว้ แล้ววิ่งลากไป นอกจากนี้ยังสามารถนำมาดัดหรือเจียนทำเป็นเนียนสำหรับขูดน้ำพริกที่สากและคดน้ำพริกจากครก ซึ่งคุณสมบัติที่ดีมากของเนียนก็คือ ความนิ่งของกาบหมากนั่นเอง และกาบหมากยังสามารถนำมาทำเป็นที่จับกระทะเคี่ยวตาล เวลายกขึ้นยกลงจากเตาตาลแทนการใช้ผ้าได้อีกด้วย
  7. กาบหมากยังสามารถนำมาใช้ทำพัดสำหรับพัดคลายร้อนในหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี โดยนำกาบใบมาเจียนให้เป็นรูปวงกลมหรือรูปวงรี มีที่สำหรับมือจีบยื่นออกมา ซึ่งก่อนใช้จะต้องใช้ก้นของครกตำข้าวทับให้แบนเรียบเสียก่อน
  8. เนื้อในเมล็ดสามารถนำมาใช้ในการผลิตสีย้อมผ้าได้
  9. เปลือกผลสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้
  10. ลำต้นสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้ เช่น ใช้ทำสะพาน เฟอร์นิเจอร์ ทำเสาตอม่อ ฟากสับ แม่บันได ลูกบันได ส่วนโคนแก่ใช้ทำชั้นพะองเพื่อทอดทำสะพานข้ามกระโดง ท้องร่อง และเมื่อนำลำต้นมาทะลวงไส้ออก จะสามารถใช้เป็นท่อระบายน้ำได้ นอกจากนี้ยังใช้ทำไม้คานแบกของ ทำคร่าวสำหรับยึดฝาฟากสับ และยังใช้ต้นหมากนำมากั้นคันดินและทำเป็นตอม่อเพื่อป้องกันคันดินที่กั้นน้ำเข้าสวนพังได้อีกด้วย
  11. ปัจจุบันมีการปลูกต้นหมากไว้เป็นไม้ประดับทั่วไป เนื่องจากมีลำต้นและทรงพุ่มที่ดูสวยงาม
  12. ชาวไทยนิยมกินหมากร่วมกับพลูและปูนแดง โดยมากจะเอาใบพลูที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปมาทาด้วยปูนแดง แล้วใช้กินกับหมากที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยวด้วยกัน ก็จะมีน้ำหมากสีแดง ซึ่งจะต้องบ้วนทิ้ง (การกินหมากจะทำให้ฟันดำและปากแดง เมื่อเคี้ยวติดต่อกันหลายปีฟันจะเปลี่ยนเป็นสีดำ) ในสมัยก่อนชาวไทยทั้งชายและหญิงตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยชราก็ล้วนแต่กินหมากกันทั้งสิ้น และการเคี้ยวหมากหลังการรับประทานอาหาร จะช่วยทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น ช่วยดับกลิ่นปาก แก้แมงกินฟัน ช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง และช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย กระตุ้นการสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้มีการย่อยอาหารที่ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้อีกด้วย (แต่หมากบางต้นเมื่อนำมากินแล้วจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน ใจสั่น และขับเหงื่อ เรียกว่า “หมากยัน”)
  13. ในยุโรปมีการใช้ผลหมากเป็นส่วนผสมของยาสีฟัน เพราะเชื่อว่าจะทำให้ฟันขาวขึ้นได้
  14. เมื่อการกินหมากกลายเป็นธรรมอย่างหนึ่ง จึงทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมหมากอย่างจริงจัง นั่นก็คือ การใช้หมากเป็นเครื่องต้อนรับแขก (แต่ในปัจจุบันคนไทยกินหมากน้อยลงมาก), การนำมาใช้ในพิธีทางศาสนา (เช่น พิธีกรานกฐินเมื่อออกพรรษา), ใช้หมากในพิธีไหว้ครูและพิธีบายศรีสูขวัญ หรือนำมาจัดเป็นหมากพลูไว้เป็นชุดขายเพื่อนำไปเป็นเครื่องบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ส่วนในต่างประเทศอย่างมาเลเซียจะมีประเพณีที่ว่า หากฝ่ายหญิงเคี้ยวหมากไปพร้อม ๆ กับฝ่าย นั่นแสดงว่าเธอยินดีที่จะเป็นคู่ครอง ส่วนคนจีนไหหลำจะเชื่อว่า เจ้าสาวที่จะมาไหว้ว่าที่แม่สามีจะต้องนำหมากพลูมากไหว้ ส่วนคนญวนจะมีประเพณีที่ว่าคู่บ่าวสาวจะต้องกินหมาก 120 คำให้หมด ถึงจะแต่งงานกันได้ ส่วนคนพม่านั้นถือว่า สาวใดยื่นหมากให้ฝ่ายชาย นั่นหมายถึงเธอกำลังทอดสะพานให้แก่ฝ่ายชาย เป็นต้น
  15. คุณค่าทางโภชนาการของผลหมากสุกที่ยังสดต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยน้ำ 21-30 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 35-40 กรัม, ไขมัน 5-10 กรัม, ใยอาหาร 11-15 กรัม, โพลีฟีนอล 11-18 กรัม มีสารประกอบอัลคาลอยด์ 0.1-0.2%
  16. ในด้านการนำมาใช้ทางอุตสาหกรรม ผลหมากเมื่อนำมาสกัดจะได้ไขมัน เมือก ยาง และสาร Arecoline ซึ่งมีสารแทนนินสูง จึงสามารถนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมได้หลายชนิด เช่น การใช้ทำสีต่าง ๆ ใช้ย้อมแห อวน ทำให้แหหรืออวนนิ่มอ่อนตัว เส้นด้ายไม่เปื่อยเร็ว ช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น และยังใช้สกัดเป็นน้ำยาฟอกหนัง ทำให้หนังนิ่มมีสีสวย หรือใช้สกัดทำเป็นยารักษาโรค เช่น ยาขับพยาธิในสัตว์ ยาแก้ท้องเสีย ท้องเดิน ยาขับปัสสาวะ ยาสมานแผล ยาขับพิษ ยาทาแก้คัน น้ำมันนวด และยาแก้ปากเปื่อย เป็นต้น
  17. หมากเป็นพืชที่มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีต เพราะคนไทยนิยมกินหมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านคนธรรมดา แต่ในปัจจุบันคนนิยมกินหมากลดน้อยลงมาก หมากจึงมีบทบาทในแง่ทางอุตสาหกรรมมากกว่า เพราะมีการส่งออกเพื่อจำหน่ายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาทต่อปี หมากจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นพืชที่เพาะปลูกง่าย ดูแลรักษาไม่ยาก โรคและแมลงรบกวนน้อย การลงทุนไม่สูงนัก สามารถทำรายได้อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานานนับสิบปี

ขอขอบคุณสำหรับเนื้อหาจาก : วัดหนองรั้ว พระอธิการ นพดล กันตสีโล ,medthai

เอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “หมาก (Mak)”.  หน้า 328.
  2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หมาก Areca Plam, Betelnut Palm”.  หน้า 41.
  3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “หมาก”.  หน้า 612.
  4. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “หมาก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [19 ก.ค. 2014].
  5. สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา.  “หมาก (Betel  Nuts)”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.chachoengsao.doae.go.th.  [19 ก.ค. 2014].
  6. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 วันที่ 3-5 ก.พ. 2553.  (ศานิต สวัสดิกาญจน์, สุวิทย์ เฑียรทอง, เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์, สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์, วริสรา ปลื้มฤดี).  “ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า”.  หน้า 412-421.
  7. บ้านจอมยุทธ์.  “หมาก ( areca palm ) Areca catechu L.”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.baanjomyut.com.  [19 ก.ค. 2014].
  8. ไทยรัฐออนไลน์.  (นายเกษตร).  “หมาก แก้น้ำกัดมือเท้า”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th.  [19 ก.ค. 2014].
  9. ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).  “หมาก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaibiodiversity.org.  [19 ก.ค. 2014].
  10. จุฬาวิทยานุกรม.  “ต้นหมาก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.chulapedia.chula.ac.th.  [19 ก.ค. 2014].
  11. ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช กรมวิชาการเกษตร.  “หมาก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: th.apoc12.com.  [19 ก.ค. 2014].
  12. โครงการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่ประชาชนทั่วไป, คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  “หมาก”.  อ้างอิงใน: หนังสือพฤกษาพัน (เอื้อมพรวีสมหมาย และคณะ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.natres.psu.ac.th.  [19 ก.ค. 2014].
  13. ไทยรัฐออนไลน์.  (นายเกษตร).  “หมาก แก้เบาหวานแผลหายเร็ว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th.  [19 ก.ค. 2014].
  14. รักบ้านเกิด.  “การใช้หมากรักษาหูด”.  อ้างอิงใน: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rakbankerd.com.  [19 ก.ค. 2014].
  15. ผู้จัดการออนไลน์.  (นายเกษตร).  “หมากกับมะเร็งปาก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th.  [19 ก.ค. 2014].
แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่