น้ำมันมะพร้าว ตัวช่วยสุขภาพดี พร้อมวิธีทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

0

น้ำมันมะพร้าว ตัวช่วยสุขภาพดี ที่หลายคนอาจมองข้าม พร้อมวิธีทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

น้ำมันมะพร้าว น้ำมันที่ให้ประโยชน์อันน่าทึ่งต่อสุขภาพ นอกเหนือจากการบำรุงความงาม แต่คนส่วนใหญ่กลับมองข้ามไปเสียอย่างนั้น

น้ำมันมะพร้าว คืออะไร

น้ำมันมะพร้าวก็คือ น้ำมันที่ได้จากผลมะพร้าวนั่นเอง โดยนำมาสกัดแยกน้ำมันออกจากเนื้อมะพร้าวด้วยวิธีสกัดเย็น ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ใช้ความร้อนสูง และไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี น้ำมันที่ได้จึงมีลักษณะใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่นหืน อาจมีชิ้นเนื้อมะพร้าว และกลิ่นหอมอ่อนๆ ของมะพร้าวปนมาด้วย เพราะเหตุนี้เอง น้ำมันมะพร้าวจึงมีชื่อเรียกหลายชื่อ ทั้งน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Extra Virgin Coconut Oil) น้ำมันมะพร้าวบีบเย็น น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น

น้ำมันมะพร้าวเป็นของเหลวก็จริง แต่ก็สามารถกลายสถานะเป็นของแข็งได้ โดยน้ำมันมะพร้าวจะมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และกลายสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส แต่เราสามารถทำให้มันเป็นของเหลวได้อย่างง่ายโดยใช้ความร้อนเพียงเ­ล็กน้อย

ในน้ำมันมะพร้าวนั้นประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว (มากกว่า 90% จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) แต่กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ที่พบในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (medium chain fatty acid)

ประโยชน์น้ำมันมะพร้าว มาดู ดีต่อสุขภาพยังไง

น้ำมันมะพร้าวถูกจัดว่าเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันช­นิดอื่น เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวสายปานกลาง ร่างกายดึงไปเผาผลาญได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุสำคัญและวิตามินละลายในไขมันบางชนิด เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ ดี อี เค ที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ทันที เพราะคุณค่าเหล่านี้จึงทำให้น้ำมันมะพร้าวมีสรรพคุณต่อสุขภาพใน­หลายๆ ด้าน

สรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อสุขภาพ

มาดูกันครับว่า… ในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนี้ แฝงไว้ด้วยประโยชน์สุขภา­พในเรื่องใดบ้าง

1. กินแล้วไม่อ้วน

น้ำมันมะพร้าวให้พลังงานน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่น นั่นคือ 8.6 กิโลแคลอรีต่อกรัม ในขณะที่น้ำมันชนิดอื่นให้พลังงานถึง 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม มีกรดไขมันอิ่มตัวที่ไม่ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระและไขมันทรานส์ น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึมนานถึง 24 ชั่วโมง ทำให้อาหารหรือปริมาณแคลอรีถูกนำไปเผาผลาญมากขึ้น ไม่เหลือเป็นแคลอรีส่วนเกิน ที่จะถูกสะสมเป็นไขมันส่วนเกิน

2. กระตุ้นการขับถ่าย

น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวสายปานกลาง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ใหญ่ จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย สำหรับคนที่กินน้ำมันมะพร้าวในระยะแรกอาจมีอาการท้องเสีย ถือว่าเป็นอาการปกติ แต่ถ้าหากกินไปสักระยะแล้วยังมีอาการท้องเสียอยู่ ควรหยุดทาน เพราะน้ำมันมะพร้าวอาจไม่เหมาะกับธาตุในร่างกาย

3. บำรุงกำลัง

น้ำมันมะพร้าวนั้นกินแล้วย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญได้ทันที อีกทั้งกินแล้วอิ่มนาน จึงทำให้ร่างกายมีกำลังเพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ด้วยเหตุนี้ น้ำมันมะพร้าวจึงถูกนำไปบำรุงกำลังแก่นักกีฬาทั้งแบบชงดื่ม และแบบแท่ง รวมถึงเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุด้วย

4. ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคกลุ่มเสื่อม

น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) จึงช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคกลุ่มเสื่อมต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคตับ และโรคไต

5. บำรุงกระดูก

สารอาหารในน้ำมันมะพร้าวนั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อความ­แข็งแรงของกระดูก ได้แก่ แคลเซียม และแมกนีเซียม จึงช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก ไม่ให้เปราะ แตกหักง่าย

6. บำรุงครรภ์

น้ำมันมะพร้าวถือว่าเป็นอาหารที่ดีต่อคุณแม่และทารกน้อยในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากคุณแม่รับประทานน้ำมันมะพร้าวในช่วงตั้­งครรภ์ ก็จะช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันที่ดี และเป็นการเพิ่มคุณค่าของน้ำนมแม่อีกด้วย เพราะในน้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดลอริก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้ในน้ำนมแม่ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม ที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รวมทั้งป้องกันภาวะกระดูกพรุน หรือการสูญเสียแคลเซียมของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์อีกด้วย

7. ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

ในน้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดลอริก กรดคาปริก และกรดคาปริลิก ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลาย การรับประทานน้ำมันมะพร้าวติดต่อกันทุกวันในปริมาณเพียงเล็กน้อ­ยจะช่วยให้คุณนอนหลับได้สนิทขึ้น และยังช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ลดความเครียด และอาการอ่อนเพลียได้ด้วย

8. ลดการอักเสบและติดเชื้อ

น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อได้ เพราะกรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวจะถูกเปลี่ยนเป็น สารมอโนลอริน (monolaurin) มีคุณสมบัติสร้างภูมิคุ้มกัน และมีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย ถือเป็นเป็นทั้งยาปฏิชีวนะธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยจ­ากการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่เริม คางทูม เจ็บคอ

9. บำรุงสุขภาพในช่องปาก

น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก อันเป็นสาเหตุให้เกิดคราบพลัคที่จะนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ภายในช่องปาก เช่น เหงือกอักเสบ เหงือกช้ำ บวม แดง หรือเลือดออกตามไรฟัน รวมถึงอาการติดเชื้อบริเวณลำคอด้วย วิธีใช้คือนำน้ำมันมะพร้าวมาอมบ้วนปากครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 1 ครั้ง

10. ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึงร้อยละ 92 ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และยังมีวิตามินไบโอที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งผิวหนัง

วิธีกินน้ำมันมะพร้าว

ความพิเศษของน้ำมันมะพร้าวอยู่ตรงที่เราสามารถตวงกับช้อนแล้วกิ­นได้เลย หรือจะนำไปปรุงเป็นเมนูคาวหวานก็ได้ แม้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะกินแล้วดีต่อสุขภาพ แต่ก็ยังต้องระวังเรื่องปริมาณการบริโภค รวมถึงต้องปรับพฤติกรรมการกินควบคู่ไปด้วย มิเช่นนั้น อาจให้ผลตรงกันข้าม

* สำหรับวิธีการกินน้ำมันมะพร้าวที่เหมาะสมนั้น อาจยึดหลักจากน้ำหนักตัว ดังนี้

  • น้ำหนักตัว 30-40 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถบริโภคได้ไม่เกิน 0.5 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • น้ำหนักตัว 40.1-60 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถบริโภคได้ไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • น้ำหนักตัว 60.1-80 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถบริโภคได้ไม่เกิน 1.5-2 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • น้ำหนักตัว 80.1 กิโลกรัมขึ้นไป สามารถบริโภคได้ไม่เกิน 2.5-3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ไม่เกินวันละ 1-2 ช้อนชา
  • ผู้สูงอายุรับประทานไม่เกินวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ

ทั้งนี้ การกินน้ำมันมะพร้าวภายในครั้งเดียวร่างกายอาจรับไม่ได้ ดังนั้น ควรจะแบ่งทานเป็น 3 เวลา นอกจากนี้อาจรวมถึงการนำน้ำมันมะพร้าวไปเป็นส่วนหนึ่งในการปรุงประกอบอาหาร เช่น นำไปผัดอาหารแทนน้ำมันชนิดอื่น ๆ

อย่างไรก็ดี ควรเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

น้ำมันมะพร้าว มีข้อเสียไหม

ตามกลไกของร่างกายแล้ว การกินน้ำมันวันละประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะนั้น ถือเป็นปริมาณที่ร่างกายสามารถกำจัดออกได้หมด คำแนะนำส่วนใหญ่จึงถือว่าการกินน้ำมันมะพร้าววันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เป็นปริมาณที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วยว่ารับพลังงานไขมันจากแหล่งอื่นมากน้อยแค่ไหน โดยคำแนะนำคือปริมาณบริโภคเมื่อรวมกับน้ำมันและไขมันในอาหารชนิดอื่น ๆ แล้ว ไม่เกินวันละ 3-4 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 60 กรัม ดังนั้น หากเป็นคนที่ได้รับน้ำมันและไขมันจากอาหารชนิดต่าง ๆ แล้ว 2 ช้อนโต๊ะ ก็สามารถบริโภคน้ำมันมะพร้าวได้อีกไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ หรือถ้าเป็นคนที่ทานมังสวิรัติ ไม่รับประทานนม ไข่ ชีส หรือน้ำมันอื่น ๆ ก็อาจทานน้ำมันมะพร้าวได้มากขึ้น

ดังนั้น ทางที่ดีควรพิจารณาจากความเหมาะสมของสุขภาพตัวเอง เพราะถ้าหากทานเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ร่างกายกำจัดออกไม่หมด ก็เกิดการสะสมได้ไม่ต่างจากไขมันประเภทอื่น

น้ำมันมะพร้าวกับ 10 ประโยชน์ความงามที่น่าลอง

นอกจากประโยชน์ด้านสุขภาพแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังมีคุณสมบัติบำรุงความงามตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท­้าได้อีกด้วย มาอ่านกันดีกว่า

1. หมักผม

หากนำน้ำมันมะพร้าวไปหมักผม ก็ควรจะสระด้วยยาสระผมอีกครั้ง และล้างออกด้วย น้ำอุ่น จะทำให้ความมันบนเส้นผมก็จะลดลง เส้นผมจะนุ่มขึ้น และดูเงางาม

2. น้ำมันนวดตัว (Body Oil)

น้ำมันมะพร้าวสามารถเป็นน้ำมันสำหรับนวดสปาได้ สามารถผสมน้ำมันหอมระเหยเข้าไปด้วยประมาณ 2-3 หยด เพิ่มความผ่อนคลาย

3. ลิปบาล์ม

เพิ่มความชุ่มชื้นให้เรียวปาก ด้วยน้ำมันมะพร้าว แค่หยดบนนิ้วมือ ทาบาง ๆ บนริมฝีปาก ก็ช่วยให้เรียวปากไม่แห้งตึงแล้ว

4. บำรุงเล็บ

น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเล็บ และจมูกเล็บได้ ทำให้เรียวมือของเราเต่งตึง ไม่เหี่ยวย่น

5. รอยคล้ำใต้ดวงตา

ผิวบริเวณใต้ดวงตานั้นมีความบอบบางมาก สามารถเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ถุงใต้ตา หรือรอยคล้ำใต้ตาได้ง่าย น้ำมันมะพร้าวก็มีคุณสมบัติบำรุงผิวรอบดวงตาได้เหมือนกับอายครี­ม

6. บำรุงเส้นผม

หากลองใช้น้ำมันมะพร้าวปริมาณเท่าเมล็ดถั่วบำรุงเส้นผม จะช่วยเพิ่มความหนา ลดอาการชี้ฟู ขาดเส้น และหลุดร่วงได้

7. เพิ่มความฉ่ำวาวให้ผิวหน้า

เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวเพิ่มความฉ่ำวาวให้ผิวหน้าเราได้เหมื­อนการลงเมคอัพไฮไลท์ เช่น ทาบริเวณโหนกแก้ม เปลือกตา หรือโหนกคิ้ว ก็จะทำให้ผิวหน้าเราดูเปล่งปลั่ง มีสุขภาพดี

8. เมคอัพ รีมูฟเวอร์

ใช้น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ช่วยลบเมคอัพได้ ใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าว เช็ดเบา ๆ บนเมคอัพ ล้างออกด้วยน้ำอุ่น

9. บอดี้สครับ

ผสมเกลือและน้ำตาลในอัตราส่วนเท่ากัน นำไปละลายในน้ำมันมะพร้าว ใช้ขัดผิวในบริเวณที่ต้องการ ช่วยขจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ทำให้ผิวนุ่มขึ้น ใช้ขัดข้อศอก และหัวเข่าที่ด้าน หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมที่ผ่อนคลายมากขึ้น ก็หยดน้ำมันหอมระเหยเพิ่มเข้าไปได้

10. ครีมกำจัดขน

ครีมกำจัดขนที่ใช้อยู่หมด ไม่ต้องห่วงเลย ถ้าเรามีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นซะอย่าง เพียงแค่นำไปผสมกับน้ำอุ่นให้ร้อนเล็กน้อย ชโลมให้ทั่วผิวบริเวณที่ต้องการจะโกนขน ก็จะโกนได้เกลี้ยงเกลา ไม่เกิดการระคายเคือง ผิวเนียนนุ่ม

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น วิธีการทำที่หลายคนอยากรู้

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นราคาแพง ๆ แพ็กเกจสวย ๆ ในซุปเปอร์มาร์เกตนั้น มีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง แล้วเราสามารถทำเองได้ไหม เราขอตอบเลยว่า ทำได้ ลองทำตามสูตรนี้เลย

1. เนื้อมะพร้าว แก่ ขูดเองหรือซื้อมา ใช้ เนื้อมะพร้าว 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน คั้นด้วยน้ำอุ่น แล้วกรองใส่ภาชนะหมัก ภาชนะใส เพื่อมองเห็นการแยกชั้น ของกะทิที่จะเป็นน้ำมัน ปิดฝาตั้งวางไว้ในห้องอุณภูมิปกติ ในบ้าน

( ถ้าซื้อหัวกะทิโดยไม่ผสมน้ำมาจากแม่ค้า เทหัวกะทิใส่ ภาชนะใส แล้วเติมน้ำอุ่นเกือบร้อน ลงในอัตราส่วน 1:1 ปิดฝา) ใช้เวลา 9-18 ชั่วโมง จะมองเห็นการแยกชั้นชัดเจน(ได้น้ำมันช้าหรือเร็ว อยู่ที่อากาศ และมะพร้าวแก่หรือไม่ด้วย และทุกขั้นตอนต้องสะอาดหมด)

2. มองจากชั้นบน 1.ชั้นฝ้า 2.ชั้นน้ำมันใส 3.ชั้นครีมโปรตีนกะทิ 4.ชั้นน้ำหมัก 5.ชั้น โปรตีนกัม (ถ้าครบ 18 ชม.ลืมกรองหรือไม่ว่างกรองก็ไม่เป็นไร วางไว้ที่เดิมตัวน้ำมันจะคงที่ไม่เป็นไรแต่อย่าให้นานเกิน )

เมื่อแยกชั้นดีแล้วเตรียมภาชนะกรอง โดยใช้ผ้าขาวบางพับ 6-8 ชั้น มากชั้นน้ำมันยิ่งใส วางบนกระชอนหรือที่กรองมีภาชนะรองด้านใต้

(ถ้าหมัก 9 ชั่วโมงแล้วไม่เกิดน้ำมันใส ให้ตักครีมกะทิชั้นบนทั้งหมดเคี่ยวไฟอ่อนแบบโบราณ ก็จะได้น้ำมันใส คุณประโยชน์เหมือนกันแต่กลิ่นหอมกว่า สกัดเย็น)

3. เปิดฝ้าตักน้ำมันใสใส่บนผ้าขาวบาง ในส่วนที่คิดว่าไม่มีน้ำติดขึ้นมานี้เมื่อกรองเสร็จ ใช้ได้ทันที แยกใส่ขวดไว้ต่างหาก ส่วนที่เหลือ ชั้น 3 บนน้ำหมักก็ตักขึ้นกรอง ชึ่งจะตักง่ายจะแยกจากน้ำชัดเจน หรือจะตักพรัอมกันครั้งเดียวก็ได้ 3 ชั้นกรอง ห้ามคนหรือบี้ครีมปล่อยให้ค่อยๆหยดเอง เพราะจะทำให้น้ำมันขุ่น (น้ำหมักใสออกขุ่น และโปรตีนกัมนอนก้น ทิ้งไปหรือทำปุ๋ย หรือทำน้ำส้มสายชู )

เมื่อน้ำมันหยดหมดแล้ว น้ำมันที่ได้ ทำการเอาน้ำออกจากน้ำมันที่มีติดมา ได้ 2 วิธี

1. ยกน้ำมันใส่ตู้เย็น เมื่อน้ำมันแข็ง นำออกมา แล้วเจาะหรือดันก้อนน้ำมันขึ้นจะเห็นน้ำให้เอาทิ้งไป ถ้าน้ำมันมีน้ำปนอยู่จะขึ้นราดำ และเหม็นตึๆถึงแม้จะใส่ตู้เย็นก็ตาม ไม่ควรเก็บไว้หลายวันใช้ให้หมดเร็ว ถ้าเก็บไว้นานต้องทำวิธีที่ 2

2. ทำการระเหยน้ำเพื่อไม่ให้น้ำมันเหม็นไม่ขึ้นรา และเก็บได้นาน โดย ตั้งหม้อน้ำรัอนให้เดือดเบาๆ วางตะแกรง (หรือใช้หม้อซึ้ง) แล้วนำน้ำมันที่ได้วางบนใช้ช้อนหรือทัพพีคนจะมีฟองอากาศเดือดปุดๆ คนไปมาจนไม่มีฟองอากาศปุด ก็ยกขี้น ตั้งวางไว้ สักพ้กน้ำมันใช้ได้ทันที

แต่ถ้าจะเก็บไว้นานๆให้ตั้งวางไว้ประมาณ 7 วัน น้ำมันที่ระเหยน้ำหมดสามารถเก็บได้นานมากกว่า 1 ปี ได้ปกติคงที่ จนแน่ใจว่าน้ำระเหยออกหมดแล้วโดยตั้งวางจนใส ค่อยบรรจุขวด เป็นของฝาก ของเยี่ยมคนไข้ได้ เพราะมีประโยชน์มากหลายอย่าง ต่อทุกคนทุกวัย

(กรณีทำแล้วน้ำมันยังขุ่นจากการระเหยน้ำ ให้ยกหม้อน้ำร้อนไปตั้งในกล่องโฟมหรือกระติกให้อุณหภูมิประมาณ 50 องศาฯ ยกน้ำมันไปวางคู่ก้บหม้อน้ำรัอนที่ปิดฝา รอจนน้ำมันใส ก็ใช้ได้หรือไม่ใสก็ใช้ได้เหมือนกัน)

* ส่วนที่อยู่บนผ้าขาวบางให้เทลงใส่กะทะ พร้อมบิดผ้าขาวบางที่มีน้ำมันลงในกะทะ เปิดไฟอ่อนที่สุด เคี่ยวคนไปมา อย่าให้ติดกะทะ จนเป็นน้ำมันใส พอเนื้อครีมกะทิเกรียมก็ปิดไฟ

พอน้ำมันเย็นก็เทกรองบนผ้าขาวบาง 3-4 ชั้น กรองให้ใสที่สุด และห่อกากน้ำมันบีบ น้ำมันออกให้หมด ก็จะได้น้ำมันอีกส่วนหนึ่ง ใช้ได้เหมือนกันแต่จะหอมมากขึ้น (การทำน้ำมันหน้าหนาวหากผ้าขาวบางแข็งให้ต้มผ้าแล้วค่อยซัก)

การเก็บรักษาน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันชนิดอื่น ๆ หากนำไปแช่ตู้เย็น ก็ยังคงสภาพเป็นของเหลว แต่สำหรับน้ำมันมะพร้าวนั้นสามารถแข็งตัวได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า­ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งวิธีการเก็บรักษาน้ำมันมะพร้าวไม่ให้เสียเร็วก่อนวันหมดอาย­ุ หรือ มีกลิ่นหืน ก็ควรจะบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เก็บในอุณหภูมิห้อง และไม่ควรโดนแสงแดดกรณีนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วเป็นไข ก็สามารถทำให้ละลายได้โดยการอุ่นด้วยความร้อน

น้ำมันมะพร้าวที่เสียแล้ว เป็นอย่างไร

วิธีการสังเกตน้ำมันมะพร้าวที่เสียแล้วนั้นง่ายมาก คือ สีจะเปลี่ยนจากใสกลายเป็นเหลืองอ่อน ๆ หรือมีความขุ่น มีการตกตะกอน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวเสียเร็วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าการเก็บรักษาหลังการใช้ เช่น ปิดฝาไม่สนิท มีสิ่งเจือปนอื่น ๆ เก็บในที่ที่มีแสงแดดส่องเป็นเวลานาน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันมะพร้าวบำรุงสุขภาพนั้น หากต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ก็ควรดูตามความเหมาะสมของสุขภาพเราด้วย เพราะถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังเป็นน้ำมันอยู่ดี หากร่างกายได้รับในปริมาณมาก ผลลัพธ์ก็อาจตรงกันข้ามก็ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ,ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย ,ชีวจิต ,สมุนไพรดอทคอม ,kapook ,กานดาน้ำมันมะพร้าว

เรียบเรียงโดย : Postsod

หากนำไปใช้ กรุณาใส่เครดิต

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่