การนำลูกปลาลงปล่อยในบ่อ เราต้องนำถุงบรรจุลูกปลามาแช่น้ำในบ่อที่เราจะปล่อยประมาณ 30 นาทีก่อน เพื่อให้ลูกปลาปรับสภาพเสียก่อน ซึ่งมีหลายคนปล่อยปลาลงเลย ทำให้ปลาน็อคน้ำและตายในเวลาต่อมา หลังจากแช่ไว้ประมาณ 30 นาที ก็สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อได้เลย
ลักษณะเด่นปลาทับทิม
- มีอัตราเจริญเติบโตเร็ว
- มีปริมาณเนื้อที่บริโภคได้ต่อนํ้าหนักสูง ประมาณร้อยละ 40 และมีสันหนามาก
- มีส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก และมีก้างน้อย
- มีเส้นใยกล้ามเนื้อละเอียด และแน่น ทำให้มีรสชาติดี
- เป็นปลาที่ปราศจากกลิ่นคาว
- มีความทน และเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำที่มีความเค็มสูง
- สามารถเลี้ยงได้ในกระชังที่มีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลต่อน้ำหนัก
- มีสีผิวแดงส้มอมชมพู เนื้อปลามีสีขาว น่ารับประทาน
- เป็นปลาที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และมีความต้านทานต่อโรคได้ดี
หลายคนอาจสงสัย เลี้ยงในบ่อดิน ทำไมต้องมาเสียเงินทำกระชัง ข้อดีคือ เลี้ยงในกระชังถึงเวลาจับขายทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลืองค่าแรง ค่าน้ำมันสูบน้ำจับปลา ข้อดีอีกอย่าง เลี้ยงในกระชัง ปลาอยู่ในวงจำกัด การใช้อาหาร วิตามินเสริม ปลาได้กินทั่วถึง ไม่ต้องเหวี่ยงกระจายไปทั่วบ่อ…อัตราสูญเปล่าแทบไม่มี
ถึงบ่อดินน้ำขังจะมีเศษอาหารปลาตกหล่นทำให้น้ำเน่าเสีย ปลาเจ็บป่วยได้ ไม่ต้องกังวล เพราะสามารถควบคุมได้ด้วยการเลี้ยงแบบโปรไบโอติกฟาร์มมิ่ง (Probiotic Farming) ใช้จุลินทรีย์ชนิดดีจากธรรมชาติมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อโรค และช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดแก๊สแอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟที่ก้นบ่อ
และผลการจากเปรียบเทียบการเลี้ยงปลาในกระชังทั้ง 2 แบบ เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังตามแม่น้ำ เลี้ยงได้ปีละ 2 รุ่น (4-5 เดือน/รุ่น) ปลาโตช้า เนื่องจากน้ำมีปัญหาความสกปรก เชื้อโรค โปรโตซัวปนเปื้อนตลอดเวลา แถมมีอัตรารอดเฉลี่ยอยู่ที่ 60%
ส่วนเลี้ยงกระชังในบ่อดิน เลี้ยงได้ปีละ 3 รุ่น (3–4 เดือน/รุ่น) คุณภาพน้ำดีกว่า ปลาโตเร็ว มีอัตรารอดเฉลี่ย 70% แต่ในรายที่ทำได้ดี อัตรารอดมีสูงถึง 80–90% นั่นเป็นเพียงข้อดีเบื้องต้น…ข้อดีอีกประการ ปลาถูกเลี้ยงในกระชัง พื้นที่ว่างในบ่อยังเหลืออีกเยอะ
เราสามารถต่อยอดนำกุ้งหรือปลาอื่นๆมาปล่อยเลี้ยง ปล่อยลงบ่อดิน กลายเป็นนวัตกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบโคคัลเจอร์ (Co-Culture) ปล่อยกุ้งขาว เลี้ยงผสมร่วมกับกุ้งก้ามกราม…ไม่ต้องกังวลว่ากุ้งต่างพันธุ์จะกัดกินกัน เพราะกุ้งต่างพันธุ์มีแหล่งหากินไม่ทับซ้อน กุ้งก้ามกรามหากินตามก้นบ่อ…กุ้งขาวหากินกลางน้ำ
สรุปแล้ว ถ้าคุณมีบ่อดิน 1 ไร่ มีปลาในกระชังให้จับปีละ 3 รุ่น รุ่นละ 1,000 กก. มีกุ้งจับขายปีละ 2 รุ่น แต่ละรุ่นจับกุ้งขาวได้ 300 กก. กุ้งก้ามกรามอีก 200 กก. เลี้ยงได้ทั้งปี
การเตรียมบ่อ
1. บ่อใหม่ หมายถึง บ่อดินที่ชุดใหม่จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคปลา แต่การคำนึงความเป็นกรดเป็นด่างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแต่ละพื้นที่ของดิน ดังนั้นบ่อใหม่ควรพิจารณากระทำสิ่งต่อไปนี้
1.1 ต้องมีการวัด pH และปรับ pH ของน้ำให้อยู่ในช่วง 6.5 – 8.5 ซึ่งดินโดยทั่วไปจะใส่ปูนขาวประมาณ 100 – 150 กก./ไร่
1.2 ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอัตราที่ควรใส่ คือ 200 – 250 กก./ไร่ หรือมากกว่านั้น
1.3 สูบน้ำใส่บ่อ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติอย่างสมบูรณ์และปรับสภาพให้เหมาะสมแก่การเลี้ยงปลา หรืออาจนำพันธุ์ไรแดงมาปล่อยเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติ
1.4 การปล่อยลูกปลาควรปล่อยในตอนเช้า เพราะอากาศและน้ำมีอุณหภูมิต่ำทำให้ปลาไม่ช๊อคในขณะปล่อยควรจะนำถุงบรรจุปลาแช่น้ำทิ้งไว้ 10 – 20 นาที หรือค่อย ๆ เติมน้ำเข้าไปในถุงเพื่อให้อุณหภูมิใกล้เคียงกันแล้วจงเทลูกปลาลงบ่อ
2. บ่อเก่า เป็นบ่อซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้วก่อนปล่อยลูกปลาลงย่อ ควรปฏิบัติดังนี้ ระบายน้ำออกและจับปลาที่ยังคงเหลืออยู่ออกให้หมด
2.2 ลอกเลนพร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด เพราะเป็นที่อยู่ของศัตรูปลาเลนจะเป็นที่หมักหมมของอินทรีย์วัตถุและโรคปลา และตกแต่งบริเวณคันบ่อที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์
2.3 ควรตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 วัน แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในบ่อให้หมดไป
2.4 ใช้ปูนขาวอัตราส่วน 50 – 100 กิโลกรัม / ไร่ หรือมากกว่า ถ้าดินเป็นกรด ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรค ศัตรูปลาและช่วยปรับสภาพดิน โดยหว่านปูนขาวให้ทั่วบ่อ
2.5 ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 100 – 200 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับบ่อปลา
2.6 สูบน้ำใส่บ่อทิ้งไว้ 10 – 15 วัน อาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาจะมีปริมาณเพียงพอ
2.7 บ่อเก่าถ้าสูบน้ำออกไม่หมดให้ฆ่าศัตรูพืชปลาด้วยโล่ติ้น หรือกากชา อัตรา 5 – 10 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ศัตรูปลาตาย ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน พิษของสารพิษจะสลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ
2.8 ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงบ่อเก่าหลังการจับปลาและฆ่าศัตรูปลาแล้วแต่ไม่ได้ระบายน้ำทิ้งเพราะขาดน้ำใหม่ควรใช้ปูนขาวในอัตรา 250 – 300 กิโลกรัม / ไร่
อาหารปลาทับทิมสูตรลดต้นทุน
วัตถุดิบ
- กล้วยสุก (หรือใช้เป็นพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น) ประมาณ 4 กิโลกรัม
- รำละเอียด ประมาณ 0.5 กิโลกรัม
- หัวอาหารปลาโปรตีน 35% ประมาณ 6 กิโลกรัม
ขั้นตอนวิธีการทำ
- นำกล้วย หรือเศษพืชที่เตรียมไว้มาบดให้ละเอียดด้วยเครื่องบด(อาจใช้วิธีการสับหรือตำให้ละเอียดด้วยครกได้ กรณีที่ไม่มีเครื่องบด)
- เมื่อบดกล้วยละเอียดแล้ว จึงนำรำละเอียด มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน (ถ้ามีเครื่องผสมก็ใช้เครื่อง แต่ถ้าไม่มีก็ต้องผสมคลุกเคล้าไปเรื่อยๆจนกว่าจะข้นเหนียวจับตัวเป็นก้อนดี)
- เมื่อสังเกตว่าเกิดความเหนียวพอดีแล้ว จึงนำหัวอาหารปลามาใส่ลงไปตีผสมให้เข้ากัน
- จากนั้นจึงนำใส่กระสอบตั้งพักไว้ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง แล้วจึงสามารถนำมาให้ปลากินได้
การนำไปใช้
เมื่อหมักครบอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้ว เราสามารถนำมาหว่านให้ปลากินได้เลยตามอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาของเกษตรกรแต่ละราย โดยเริ่มจากให้ทีละน้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มปริมาณเท่ากับที่เคยให้ปลากินตามปกติ
สูตรที่สอง
ส่วนผสม
- อาหารเม็ดเลี้ยงปลา 2 กิโลกรัม
- กล้วยสุก 1 ผล
- วิตามินซี(แบบผงที่ใช้เลี้ยงสัตว์) 1 ช้อนแกง
- น้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนแกง
ขั้นตอนการทำ
- นำกล้วยสุก 1 ผล มาปั่นผสมกับวิตามินซี
- นำน้ำตาลทรายแดงเคี้ยวไฟให้เหนียวเป็นน้ำเชื่อม จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นจึงนำน้ำตาลทรายแดงที่ละลายแล้วแบบเหนียวข้น 1 ช้อนแกง ผสมกับกล้วยสุกและวิตามินซี
- จากนั้นนำไปผสมใน อาหารเม็ด 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปให้ปลานิล
วิธีการให้อาหาร
- ควรให้ช่วงบ่ายประมาณ 16.00-17.00 น. ซึ่งอาหารที่ผสมแล้ว 2 กิโลกรัม สามารถเลี้ยงปลาใหญ่ได้ประมาณ 1 กระชัง แต่หากเป็นกระชังเล็กจะได้ประมาณ4 กระชัง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : ศูนย์รวมความรู้การเกษตร