ปุ่มกดบนรีโมทแอร์ หลายคนที่สงสัย ใช้ปุ่มนี่ช่วยประหยัด แถมแอร์เย็นเร็ว

0

ปุ่มกดบนรีโมทแอร์ หลายคนที่สงสัย ใช้ปุ่มนี่ช่วยประหยัด แถมแอร์เย็นเร็ว

สำหรับในวันนี้เราจะมาพูดถึงปุ่มกดบนรีโมทแอร์ หลายๆคนได้มีความสงสัยว่า บนรีโมทแอร์นั้นได้มีอยู่หลายปุ่มและในแต่ละปุ่มนั้นจะทำหน้าที่อย่างไร เพราะมีหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไป ในบางครั้งการเปิดแอร์ของเรานั้นไม่เย็นออกแต่ลม บนรีโมทแอร์ก็มีเยอะหลากหลายปุ่ม ไม่รู้จะกดปุ่มไหน จะ เปิดโหมดใช้การไหนในการทำงาน โดยปกติส่วนมากแล้วก็เปิดแต่ปุ่มเปิดปิด ก็เท่านั้นเอง

วันนี้เราได้มีคำตอบใครข้องใจมาฝากให้กับหลายๆท่านกัน สำหรับรีโมทแอร์นั้นในแต่ละปุ่มก็จะมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันออกไป จะช่วยจัด การอย่างไรกับความเย็นของการเปิดแอร์และที่สำคัญนั้นเรามาพร้อมกับเคล็ดลับวิธีลดค่าใช้จ่ายค่าไฟของแอร์ได้มาก หากเราได้รู้ถึงเคล็ดลับต่างๆเหล่านี้แล้ว

และโดยปกติทั่วไปปุ่มรีโมทแอร์นั้นก็จะมีโหมด การทำงานหลักการง่ายๆมีทั้งหมดอยู่ 4 โหมด โหมด Auto, Cool, Fan, Dry และในแอร์รุ่นใหม่ๆ ก็จะมีโหมด การทำงานเพิ่มเข้ามานั่นก็คือโหมด Heat โดยในแต่ละโหมด การทำงานก็ถูกออกแบบให้มีการทำงานที่ต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลที่ต่างกัน

4 โหมด การทำงานของแอร์

โหมด Auto

การทำงานในโหมดแรกนี้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ เครื่องแอร์นั้นจะมีการติดตั้งอุณหภูมิและความเร็วของพัดลมแบบอัตโนมัติในตัว ระบบของปุ่มนี้นั้นจะมีการกำหนดอุณหภูมิรวมถึงความเร็วความแรงของระบบแอร์ และพัดลมจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิห้องที่มีการตรวจพบณในขณะนั้น

หลักการทำงานในโหมด Auto นี้จะทำงานแบบอัตโนมัติ โดยส่วนมากแล้วเราจะนิยมกดในโหมดนี้ เพราะไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนอะไรมากมาย

โหมด Cool

การทำงานในโหมดนี้นั้นจะเป็นการทำงานแบบระบบทำความเย็น ซึ่งเป็นโหมดที่ในหลายๆบ้ า นก็นิยมใช้กันมากที่สุดด้วยเช่นกัน ในโหมดนี้จะมีการทำงานทำความเย็นและยังมีการปรับอุณหภูมิภายในห้องให้อยู่อย่างคงที่ รวมทั้งเรายังสามารถปรับลดในเรื่องของระดับความเร็วของระดับพัดลมแอร์ได้ด้วย

ในโหมดนี้จะเหมาะสำหรับการใช้งานในช่วงของฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนมากๆ และอากาศบ้ า นเราก็ค่อนข้างที่จะร้อนอบอ้าว จึงเป็นโหมดที่นิยมใช้งานกันได้มากที่สุด บ่อยครั้งที่สุดเวลาที่ทำการเปิดเครื่องแอร์

โหมด Dry

สำหรับในโหมดนี้จะเป็นโหมด การทำงานโหมดลดความชื้น ซึ่งสัญลักษณ์ในรูปของหยดน้ำ โหมดนี้จะไม่สามารถที่จะมีการปรับตั้งในเรื่องของอุณหภูมิได้ เมื่ออยู่ในโหมดลดความชื้นแอร์ก็จะคอยทำหน้าที่ในเรื่องของการลดความชื้นที่อยู่ในอากาศ โดยหลักการพื้นฐานง่ายๆที่แอร์ใช้ทำความเย็น ใช้ส า รในการทำความเย็นในระบบที่ถูกทำให้ไหลออกมาตามท่อให้เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน จึงทำให้แผงที่บริเวณอยู่ในชุดคอยล์เย็นจึงมีอุณหภูมิที่มีความต่ำมาก จนความชื้นในอากาศนั้นพากันมาควบแน่นและมีการกลั่นตัวออกมาเป็นหยดน้ำ ไหลออกไปตามท่อน้ำทิ้งนั่นเอง

เมื่อได้เปิดโหมดนี้ในการทำงาน แม้ว่าในส่วนของเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ในชุดติดตั้งด้านนอกยังคงทำงานอยู่ แต่พัดลมที่อยู่ในชุดคอยล์เย็นจะมีการทำงานและมีการสลับกับการหยุดทำงานเป็นช่วงๆ เพื่อเป็นการดึงความชื้นในอากาศให้ถูกกลั่นตัวออกมาเป็นหยดน้ำให้ได้มากที่สุด และนำเอาที่กลั่นตัวจากความชื้นถูกปล่อยออกมายังท่อน้ำทิ้งนั่นเอง

สำหรับในโหมดลดความชื้นนี้หากเราไม่ได้ใช้งาน ที่ต้องการควบคุมในระดับความชื้น ก็ไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ กับการใช้งานของบ้ า นทั่วๆไป

โหมด Fan

ในโหมดนี้จะเป็นโหมดที่ยังคงให้ความเย็น ผู้ใช้เองสามารถที่จะเลือกปรับระดับในส่วนของความเร็วของตัวพัดลมได้ แต่ไม่สามารถที่จะมีการปรับตั้งอุณหภูมิลมที่ได้ออกมานั้นก็จะเป็นลมความเย็นที่อยู่ในระดับของอุณหภูมิห้อง

เป็นห นึ่ งในโหมด การทำงานที่โดยปกติแล้วเราจะไม่ค่อยได้มีการใช้งานอยู่แล้ว แต่ก็เป็นโหมด การทำงานที่ค่อนข้างจะมีประโยชน์ค่ะ ถ้าหากว่าในห้องของเรานั้นมีกลิ่นที่มีความอับออกมาจากตัวแอร์ ให้เราทำการเปิดการใช้งานในโหมดนี้ดูหรือจะเป็นช่วงก่อน ที่ใกล้จะปิดแอร์ก่อนที่จะทำการปิดแอร์นั้น ก็ให้เปลี่ยนมาใช้โหมดนี้สักประมาณ 15 นาที แล้วจึงค่อยปิดแอ ร์จะช่วยลดระดับความชื้นสะสมรวมถึงกลิ่นอับชื้นที่อยู่ในห้องได้

โหมด Heat

เป็นโหมด การทำความร้อน รีโมทแอร์ในบางยี่ห้อจะแทนโหมดนี้สัญลักษณ์ของด ว งอาทิตย์ การทำงานของโหมด นี้นั้นจะเป็นการทำงานที่เพิ่มอุณหภูมิเพื่อที่จะทำความร้อนอยู่ภายในห้อง ส่วนใหญ่แล้วการทำงานโหมดนี้ไม่ค่อยที่จะถูกใช้งานกับอากาศของบ้ า นเราสักเท่าไหร่ มักจะใช้งานแ พ ร่ หลายในกลุ่มประเทศที่มีอากาศที่หนาว นำมาใช้เพื่อความอบอุ่นในห้องไม่เหมาะกับ บ้ า นเรา

การใช้งานของเครื่องไฟฟ้าแอร์นั้นควรที่จะมีการล้างแอร์กันด้วย เพราะถ้าหากว่าเราใช้ไปนานวันเข้าแล้วไม่ล้างแอร์ ไม่ล้างตัวแผ่นกรองฝุ่นที่อยู่ด้านไหน แอร์ก็จะทำงานหนัก ทำให้ เปลืองค่าไฟและแอร์ก็จะไม่เย็นด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : liekr

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่