ค้างผัก ไอเดียดีแบบบ้านๆ ไม่เหมือนใคร ดูแลง่ายด้วย

0

ค้างผัก ไอเดียดีแบบบ้านๆ ไม่เหมือนใคร ดูแลง่ายด้วย

การปลูกผักบางชนิด จะมีวิธีในการปลูกที่มีความแตกต่างกันออกไป ผักในแต่ละประเภทก็มีความต่างในการปลูก เพื่อที่จะดูแลได้ง่ายและเจริญเติบโตได้ในรูปแบบของผักชนิดนั้นๆ

วิธีการปลูกผักในวันนี้ เราได้นำไอเดียสำหรับการทำค้างผักในแบบบ้ า นๆที่ไม่เหมือนใคร เป็นวิธีการค้างผักที่ดูแลได้ง่าย ผักเจริญเติบโตได้ดี รูปแบบในการค้างผักนั้นจะขึ้นอยู่กับเกษตรกรที่จะเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการปลูกและผักชนิดต่างๆ

การค้างผักในรูปแบบต่างๆ ก็จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับเงินที่ลง ทุ น พื้นที่สำหรับในการปลูก ลักษณะพื้นที่บนที่ราบบนที่ราบเชิง เชา เชิงเขา

1 ค้างแบบเสาคู่

ในการค้างแบบเสาคู่จะเป็นวิธีที่ให้ผลผลิตที่สูง และเป็นวิธีที่เก็บผลผลิตได้ง่ายด้วย การจั ด การต่างๆให้ความสะดวกสบาย การค้างจะมีความสมดุลไม่หนักในข้างใดข้างห นึ่ งจนทำให้ตัวล้มลงได้ แต่สำหรับทิศทางแผนในการปลูกควรที่จะต้องอยู่ในทิศตะวันออกทิศ ตะวันตก เพราะจะช่วยทำให้ได้รับแสงแดดส่องได้ทั่วถึง

2 ค้างแบบตัว A

วิธีการค้างแบบตัวเอ การค้างแบบนี้นั้นจะทำได้ง่าย ทั้งยังเป็นการลง ทุ นการทำไม่มากด้วย จะให้ผลผลิตที่ดีในช่วงแรกๆ แต่พอระยะเวลาที่นานไปแล้ว การ จัด การในเรื่องของการตัดแต่ง การเก็บผลผลิตจะค่อนข้างไม่ง่ายเลย เพราะเนื่องจากต้น ถั่วดาวอินคาที่ใหญ่แล้วจะมีเถาพันกันมากขึ้น

3 ค้างแบบกระโจม

การค้างแบบลักษณะของกระโจม การทำแบบนี้นั้นจะมีความคล้ายในรูปแบบของตัวเอ ก็คือจะให้ผลที่ดีในช่วงแรกๆ แต่พอระยะเวลาที่นานไปแล้วการ จั ด การในเรื่องของการตัดแต่งนั้น และการเก็บผลผลิตจะยากลำ บ า ก เพราะเนื่องด้วยเถา พันจะยาวขึ้นไปรวมกันที่ด้านบน

4 ค้างแบบตัว H

การค้างลักษณะแบบตัว H การค้างแบบนี้นั้น มักจะพบได้ในแปลงเพาะปลูกที่มีการลง ทุ นที่สูง จะมีวิธีการจั ด การที่ดี วัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้นั้นก็จะใช้เป็นเส า ปูน หรือเป็นโลหะ สามารถทนทานและใช้ได้นาน ข้อดีที่ได้ก็จะเก็บผลผลิตได้มากและเก็บได้นานไม่ยากต่อการเก็บ

5 ค้างแบบตัว T

การค้างถั่วแบบตัวที จะเหมาะสำหรับในพื้นที่เชิงเขาที่ไม่ราบเรียบ แต่จะสามารถประยุกต์ใช้กับพื้นที่ราบได้ด้วยเช่นกัน สำหรับข้อ ดี การคลังแบบตัวทีนี้ จะสามารถจั ด การได้อย่างง่ายสะดวก ในการเก็บผลผลิตต่างๆและการตัดตกแต่งด้านล่างให้มีความโล่ง อาจจะเพิ่มจำนวนเส้นลวดบนเสาด้วยก็ได้

6 ค้างแบบเส า รั้ว

การค้างแบบเส า รั้ว เราจะพบวิธีนี้ได้ง่ายทั่วไปและพบอยู่มากที่สุด เพราะจะเป็นรูปแบบที่ทำได้ง่ายๆให้ผลผลิตที่ดี แต่เมื่อระยะเวลาประมาณ 2-3 ปีแล้ว จะมีปัญหาในเรื่องของเถาถั่วดาวอินคาที่ค่อนข้างยาว จะต้องมีการตัดตกแต่งอยู่บ่อยๆ

7 ค้างแบบตารางหมากฮอต

การค้างในรูปแบบของตารางหมากฮอต การค้างลักษณะแบบนี้นั้นจะเป็นแบบสุดท้ายของในทุกๆแบบ เพราะเมื่อระยะเวลาที่ผ่ า นไปต้นถั่วดาวอินคา จะมีลักษณะที่ใหญ่ เถาของถั่วจะเยอะมากๆ ยาวพันกันไปทั่ว จนกลายเป็นหลังคา การ ตั ด กิ่งก็จะยากลำ บาก

รูปแบบของการค้างผักต่างๆนั้นจะมีวิธีการทำที่ต่างกันออกไป ให้เลือกทำตามประเภทของพืชผัก ลักษณะการเลื้อยของผักที่คุณทำการปลูก ก็จะได้ให้ผลผลิตที่ดีและดูแลได้อย่างไม่ยาก

เรียบเรียง : postsod

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่