ทำบุญแล้ว กรวดน้ำให้ถูกต้อง 10 วิธี ทำให้ส่งบุญถึง รับบุญได้มาก

0

ทำบุญแล้ว กรวดน้ำให้ถูกต้อง 10 วิธี ทำให้ส่งบุญถึง รับบุญได้มาก

ทำบุญเข้าวัด เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นสิ่งที่หลายๆท่านได้ทำกันมาเป็นระยะเวลานาน หลังจากการทำบุญเสร็จ ก็จะมีการกรวดน้ำเพื่อเป็นการสะสมผลบุญที่เราตั้งใจได้ทำในครั้งนี้ส่งผลไปให้กับผู้ที่เราตั้งใจทำไปให้ ให้ได้มารับผลบุญที่เราได้ทำด้วย

ในส่วนของพิธีการกรวดน้ำนั้น บางท่านก็ทำยังไม่ถูกต้อ งวันนี้เราจึงได้นำวิธีการกรวดน้ำแบบที่ถูกต้องมาฝากกัน ทำถูกจะทำให้ส่งผลบุญได้เร็ว และทำให้ตัวเรารับบุญได้มาก

วิธีกรวดน้ำ โดยท่านธ ร ร มรัก ษา

การกรวดน้ำ มือขวาจับที่ภาชนะ มือซ้ายช่วยประคอง รินน้ำใส่ลงไปในภาชนะรองรับ การกรวดน้ำ เป็นการตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลที่เราได้ทำส่งไปให้กับผู้ที่จากไปแล้ว รินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดิน หรือไหลลงไปที่ภาชนะรองรับ แล้วนำไปเทที่พื้นดินหรือบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ การกรวดน้ำนั้นจะมีอยู่ 2 วิธี

1 การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ

การกรวดน้ำเปียก นั่นคือ การใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับการกล่าวอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย

การกรวดน้ำแบบแห้ง คือการไม่ใช้น้ำ ใช้สิบนิ้วพนมมือ อธิษฐานและอุทิศบุญกุศลส่งไปให้

2 การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ

อุทิศแบบเจาะจง ก็คือ การพูดชื่อที่เราจะให้ท่านรับ อย่างเช่น กล่าวชื่อ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือชื่อใครก็ได้ที่เราตั้งใจจะทำบุญไปให้

อุทิศแบบไม่เจาะจง ก็คือ การพูด กล่าวรวมกัน อย่างเช่นญาติทั้งหลาย เจ้าก ร ร มนายเ ว รทั้งหลายเป็นต้น

3 น้ำสะอาด กรวดน้ำ

สำหรับน้ำที่นำมาใช้ในการกรวดน้ำ ให้ใช้เป็นน้ำเปล่าสะอาดที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น เมื่อกรวดน้ำเสร็จแล้วก็ให้รินน้ำในที่สะอาด ไม่ควรรินน้ำไปยังบริเวณที่มีความ ส ก ป ร ก

4 น้ำเป็นสื่อ ดินเป็นพยาน

สำหรับการกรวดน้ำนั้น ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้ได้รับรู้ ในการอุทิศส่วนบุญกุศลในครั้งนี้ที่เราได้ทำ

5 กรวดน้ำตอนเวลาไหนดี

ควรมีการกวดน้ำทันทีในขณะที่พระท่านได้อนุโมทนาหรือหลังจากการทำบุญเสร็จ หากไม่สะดวกก็สามารถทำในภายหลังได้ แต่ให้ทำในขณะนั้นจะดี กว่า บางครั้งเมื่อเรากลับบ้ า นไปก็อาจจะลืมที่จะกรวดน้ำ ผู้ที่เขาตั้งใจจะรับก็ไม่ได้รับ

6 ควรรินน้ำตอนไหน

เริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา” และรินให้หมดเมือ่พระว่ามาถึง “มะณิโชติระโส ยะถา” พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า

“สัพพีติโย วิวัชชันตุ” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง

7 ถ้ายังกล่าวบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร

ใช้บทกรวดน้ำที่สั้นๆ หรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น “อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ (พูด กล่าวชื่อผู้ล่ ว ง ลั บ)และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”

หรือจะใช้แต่ภาษาไ ท ยอย่างเดียวก็ได้ว่า “ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณเจ้าก ร ร มนายเ ว ร และส ร ร พสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ” ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้

8 เทน้ำเป็นสาย ไม่เกาะกลุ่ม

รินน้ำที่อยู่ในภาชนะให้ไหลลงมาเป็นสาย อย่างไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธีการเกาะตัวต่อกันเป็นกลุ่ม ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆนั้น ให้เจ้าภาพหรือให้ประธานรินน้ำเพียงคนเดียว หรือเป็นคู่ก็เพียงพอ นอกจากนั้นก็ให้พนมมือตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้

9 การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ

สำรวมจิตใจไม่ให้จินใจฟุ้ง ซ่ า น ความเชื่อ ความเลื่อม ใ ส ให้ความมั่นคงในจิตใจ บุญและการอุทิศส่วนบุญ ย่อมมีอานิสงส์ที่มาก ผลบุญที่เราทำไปให้ถ้าไม่มีใครได้รับก็ยังคงเป็นของเราอยู่ครบถ้วน

10 บุญเป็นของ ก า ย สิทธิ์

ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลย เราก็ยิ่งจะได้บุญหมดเลย

เป็นวิธีการกรวดน้ำอย่างถูกต้อง ทำแล้วจะได้รับผลที่ดีให้ตัวเรานั้นได้รับบุญกุศลที่เราได้ทำ ให้ผู้ที่เราตั้งใจทำบุญไปให้ก็ได้รับผลบุญในครั้งนี้ที่เราได้ทำด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : shar e-si

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่