วิธีการปลูกแตงกวา 30 วัน ออกได้เยอะ ดูแลง่ายมาก
ในขั้นตอนของการเตรียมดิน ก่อนการปลูกผักแตงกวาควรมีการไถพรวนดินตากเอาไว้เวลาประมาณ 7-10 วัน และจากนั้นจึงทำการไถพรวนเก็บเอาเศษวั ช พืชต่างๆออก แล้วมาเตรียมในส่วนของแปลงที่มีขนาด กว้าง 1 ถึง 1.2 เมตร ให้มีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้ว ใส่ปุ๋ยลงไป ปรับโครงสร้างของดินเพื่อที่จะให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของผักแตงกวา
เตรียมหลุมสำหรับการปลูก กำหนดระยะระหว่างต้นอยู่ที่ประมาณ 60 ถึง 80 เซนติเมตร และในระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร การใส่ปุ๋ยรองพื้นนั้นจะใช้เป็นสูตร 15-15-15 ในอัตรา 30 ถึง 50 กิโลกรัม ต่อไร่ และในบางแหล่งนั้นอาจจะใช้เป็นพลาสติกมาคลุมดินเพื่อเป็นการรัก ษ าความชื้นให้ดิน ป้ อ ง กันการงอกของวั ช พืชและพลาสติกในบางชนิดนั้นก็มีคุณสมบัติที่จะสามารถช่วยไ ล่แ ม ล งต่างได้ด้วย
การเลือกเมล็ดพันธุ์ของแตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้า ให้เลือกซื้อจากร้านที่มีการบรรจุห่ออย่างดี เมล็ดที่จะสามารถป้อง กันความชื้นหรืออากาศจากภายนอกเข้าไปได้ ก่อนใช้เมล็ดในทุกๆครั้งควรที่จะทำการปลูก ท ด สอบความงอกก่อน
การเตรียมดินเพาะกล้า
ปุ๋ ย ค อ ก 3:1 และใส่ปุ๋ ย สูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6×10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
ทำการบ่มเมล็ด
เมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรู จากนั้นนำมาแช่ในน้ำนาน 4 ชม. แล้วทำการบ่มในผ้าชุบน้ำหมาดๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติก รัดถุงให้แน่น บ่มเอาไว้ในสภาพอากาศที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน 24 ชม. จากนั้นรากงอกยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะในขั้นตอนถัดไป
การหยอดเมล็ด ลงถุง
นำเมล็ดที่ได้บ่มเอาไว้นั้นทำการหยอดลงไปในแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด ใช้ดินผสมหยอด กลบบางๆประมาณ 1 เซนติเมตร
การดูแลกล้า
โดยหลังจากที่ได้หยอดเมล็ดแล้วให้น้ำทันที วิธีการ ฉี ดพ่ น ให้เป็นฝอยๆจะดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณของน้ำนั้นไม่มากจนเกินไป ในช่วงของฤดูร้อน ให้วันละ 1 ครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ควรที่จะดูความชื้นดิน ก่อนให้น้ำในทุกครั้ง
เก็บเอาไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุสำหรับกันแสง เพื่อไม่ให้โดนมากจนเกินไป เมื่อเริ่มงอกให้ดูต้นกล้าเป็นระยะ ต้นกล้ามีใบประมาณ 3-4 ใบ ก็จะอยู่ในระยะที่พร้อมย้ายไปปลูกได้
การปลูก
การปลูกผักแตงกวาทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและการเพาะต้นกล้าและขยายปลูกนั้นก ารหยอดเมล็ดโดยตรงมีความสะดวกในการปลูก แต่ก็จะมี ข้ อ เสีย คือการสิ้นเปลืองเมล็ด หากได้ใช้เมล็ดพันธุ์ ลู กผสมที่มีราคาแพง แล้วจะเกิดความสู ญ เสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตด้วย
รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการดูแลในระยะของการเริ่มงอก ในพื้นที่กว้าง การเพาะต้นกล้าก่อนจึงได้มีข้อดีในหลายๆอย่างอย่าง เช่น การประหยัดเมล็ดพันธุ์ การดูแลที่ง่าย ต้นกล้าจะมีความสม่ำเสมอ ทั้งยังประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า
การทำค้างผักแตงกวา
อาจจะใช้เป็น ต า ข่าย ขึงเป็นระยะ หรือใช้เป็นค้างไม้ก็ได้ตามสะดวกค่ะ
การรดน้ำ
หลังจากที่ได้มีการย้ายกล้าปลูกแล้วจะต้องให้น้ำในทันที ระบบการให้น้ำนั้นจะมีความต่างขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ที่เหมาะสมกับการปลูกผักแตงกวา ก็คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้นและใบไม่ชื้น
ในช่วงระยะเวลาสำหรับการให้น้ำควรให้ 2-3 วันต่อครั้ง เมื่อต้นกล้าเริ่มมีความเจริญเติบโต จึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้นและการรดน้ำนั้นจะต้องกระจายในพื้นที่ให้สม่ำเสมอตลอดทั้งแปลง และดูดความชื้นไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นดินแ ฉ ะ
การเก็บเกี่ยวแตงกวา
การเก็บเกี่ยวผักแตงกวานับจากวันที่ปลูก 28 ถึง 40 วัน ซึ่งจะแล้วแต่พั น ธุ์ที่นำมาปลูก ให้เลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่ เนื้อแตงกวาจะมีความแน่นและเนื้อกรอบ สังเกตได้จากจะมีนวลสีขาวเกาะและยังมีห น า มอยู่บ้ า ง หากผลแก่นวลจะจางหาย สีจะเริ่มเป็นสีเหลือง ให้ทยอยเก็บแตงกวาวันเว้นวัน ไม่ปล่อยเอาไว้ให้ แ ก่คาต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : fourfarm