เลี้ยงลูกให้ฉลาดและสมองดีด้วย 30 วิธีง่ายๆ

0

สิ่งที่เป็นเครื่องมือสู่การต่อยอดและช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ดีที่สุดก็คือ “พ่อแม่” โดยเฉพาะในขวบปีแรก ที่พ่อแม่คอยดูแลเอาใจใส่ แค่คำพูด เสียงร้องเพลง เสียงหัวเราะ หรือแม้แต่กิจกรรมเล็กๆ ที่ทำกับลูกน้อย ก็จะส่งผลให้ลูกฉลาดได้ ซึ่งวิธีต่างๆ เหล่านี้ผ่านการวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลอง และสรุปผลมาแล้วจากนักวิชาการว่าใช้ได้ผลดีกับเด็กทั่วโลก

30 วิธีทําให้ลูกฉลาด

1. ตามองตา
เมื่อหนูน้อยลืมตาตื่นขึ้น ให้คุณพ่อคุณแม่ลองมองหน้าสบสายตากับเจ้าตัวน้อย เด็กแรกเกิดจะจดจำใบหน้าของคนได้เป็นสิ่งแรกเสมอ และใบหน้าของพ่อแม่คือใบหน้าแรกที่ลูกอยากจะจดจำ ซึ่งแต่ละครั้งที่หนูน้อยจ้องมองใบหน้า สมองก็จะบันทึกความทรงจำไว้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

2. พูดต่อสิลูก
ตอนคุณแม่พูดกับลูกน้อย ให้ลองเว้นช่องว่างในช่วงคำง่าย ๆ ที่ลูกจะสามารถพูดต่อได้ เช่น พยางค์สุดท้ายของคำ หรือคำสุดท้ายของประโยค ในช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะเงียบและทำหน้างง แต่ถ้าทำแบบนี้บ่อย ๆ ในประโยคซ้ำ ๆ ลูกจะค่อย ๆ จับจังหวะ จับคำพูดบางคำได้ และเริ่มพูดต่อในช่วงว่างที่พ่อแม่หยุดไว้ให้

3. ฉลาดเพราะนมแม่
ผลการศึกษาในเด็กวัยเรียนพบว่า เด็กที่กินนมแม่ตอนที่เป็นทารกมักจะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ ดังนั้นถ้าคุณแม่สามารถให้นมได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็จะส่งผลดีต่อลูก

4. ทำหน้าตลกใส่ลูก
เช่น การแลบลิ้นปลิ้นตา หรือทำหน้าประหลาด ๆ ตลก ๆ ใส่ลูก เด็กน้อยเพียงแค่อายุ 2 วันก็มีความสามารถเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าอย่างง่าย ๆ ของพ่อแม่ได้ แถมยังสร้างรอยยิ้มร่วมกันได้อีก

5. กระจกวิเศษ
กระจกถือเป็นอุปกรณ์การเล่นที่แสนวิเศษของลูก ทารกเกือบทุกคนชอบส่องกระจก หนูน้อยจะสนุกที่ได้เห็นเงาของตัวเองในกระจก แถมยังมีการขยับแขนขาโบกมือหรือยิ้มแย้มหัวเราะตอบออกมาทุกครั้ง

6. มากกว่าการอาบน้ำ
ช่วงจังหวะที่อาบน้ำให้ลูกน้อยนั้น คุณแม่สามารถสอดแทรกคำศัพท์ลงไปได้ เช่น สอนให้ลูกรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือบรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่ากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อ เช่น แม่กังถูสบู่ให้ลูกอยู่นะ เพื่อช่วยให้ลูกได้เรียนรู้กับคำศัพท์และเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันไปในตัวด้วย

7. สองภาพที่แตกต่าง
ถือรูปภาพ 2 รูป ที่คล้ายกันให้ลูกมอง โดยวางให้ห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เช่น ภาพรูปบ้านที่เหมือนกันทั้งสองรูป แต่อีกรูปหนึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ข้างบ้าน แม้ยังเป็นเด็กทารกแต่ลูกจะสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างนี้ได้ เป็นการสร้างความจำที่จะเป็นพื้นฐานในการจดจำตัวอักษรและการอ่านสำหรับลูกต่อไป

8. ชมวิวนอกบ้าน
พาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้าน และบรรยายสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง เช่น ต้นไม้สีเขียวมีนกเกาะเต็มไปหมด ดอกไม้สีแดง การบรรยายสิ่งแวดล้อมให้ลูกฟังสร้างโอกาสการเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ให้กับลูกได้นะคะ

9. ทำเสียงประหลาด
ทำเสียงเป็นสัตว์ประหลาด หรือเสียงสัตว์ต่าง ๆ เป็นเสียงสูง เลียนแบบเสียงเวลาที่ลูกพูด ทารกน้อยจะพยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงต่าง ๆ จากพ่อแม่ เป็นการเสริมทักษะการได้ยินของลูกได้ดีทีเดียว

10. ร้องเพลงหรรษา
มีนักวิจัยค้นพบว่า จังหวะดนตรีเกี่ยวพันกับการเรียนรู้คณิศาสตร์ของลูก ดังนั้นการสร้างเสียงและจังหวะส่วนตัวขึ้นมา อาจจะเป็นเพลงที่คุณแม่แต่งเองขึ้นมาแล้วใส่เสียงสูงต่ำแบบการร้องเพลงเข้าไป เช่น เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ก็ร้องเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก หรือเปิดเพลงชนิดต่าง ๆ ให้ลูกฟัง เช่น เพลงโมสาสที่เคยเปิดให้ลูกฟังตอนท้อง หรือจะเป็นเพลงลูกทุ่ง บางวันเป็นเพลงบรรเลง หรือเพลงป๊อปทั่วไปให้ลูกฟังทุกวันดูนะคะ

11. เป่าลมฟู่ว ๆ 
การเป่าลมเบา ๆ ไปตาม ใบหน้า มือ แขน หรือท้องของลูก หาจังหวะในการเป่าของตัวเอง เช่น เป่าเร็ว ๆ สลับกับช้า หรือเป่าแล้วตามด้วยเสียงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของพ่อแม่ จะช่วยให้ลูกน้อยกระปรี้กระเปร่าขึ้นและสามารถสังเกตปฏิกริยาตอบสนองทางด้านอารมณ์จากลูกได้

12 .พ่อแม่คือของเล่นที่ดีที่สุด

เพียงแค่คุณพ่อหรือคุณแม่นอนราบลงไปบนพื้น และปล่อยให้หนูพยายามคลานข้ามตัวไป เพียงแค่นี้ร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ก็จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นที่ดีและราคาถูกที่สุด โดยไม่ต้องลงทุนไปซื้อของเล่นราคาแพงให้ลูก เพราะการเล่นแบบนี้จะทำให้หนูน้อยรู้สึกผูกพันกับพ่อแม่ และได้พัฒนากล้ามเนื้อให้ทำงานสัมพันธ์กับการเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาไปพร้อมกัน

13. พาลูกไปช็อปปิ้ง
นาน ๆ ครั้งพาลูกน้อยออกไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตด้วยกันบ้าง การพาลูกออกนอกบ้านจะทำให้ลูกได้เห็นใบหน้าผู้คนอันหลากหลาย และเห็นสิ่งอื่น ๆ ทำให้ลูกน้อยได้ตื่นตาตื่นใจมากขึ้น

14. ให้ลูกมีส่วนร่วม
พยายามให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจวัตรต่าง ๆ เช่น ถ้ากำลังจะปิดไฟก็อาจจะบอกลูกว่า แม่กำลังจะปิดแล้วนะ เสร็จแล้วจึงกดปิดสวิชต์ไฟ นี่จะเป็นการสอนให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุและผล ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าเมื่อคุณแม่กดสวิชต์ หลอดไฟจะปิด เป็นต้น

15. ปู่ไต่
การหัวเราะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านอารมณ์ขัน การเล่นปูไต่ทำให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการคาดเดาเหตุการณ์ด้วยว่า นิ้วมือของพ่อแม่กำลังจะไต่ไปไหนต่อ ปูจะไต่จากไหนไปถึงไหนกันนะ เป็นต้น

วิธีที่ 16-30 เลี้ยงลูกให้ฉลาดหน้าถัดไป >> หน้า 2

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่