12 สีปัสสาวะ “บอกโรคประจำตัว” ฉี่ของคุณมีสีแบบไหน อันตรายกว่าที่คิด!

0

12 สีปัสสาวะ “บอกโรคประจำตัว” ฉี่ของคุณมีสีแบบไหน อันตรายกว่าที่คิด!

ปัสสาวะ คือ ของเสียที่ไตกรองออกมาจากเลือด สามารถช่วยบอกโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ แม้จะสามารถบอกโรคได้มากมาย แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยสังเกต สีปัสสาวะ หรือปัสสาวะของตัวเองเวลาเข้าห้องน้ำกันนัก ทั้งที่เป็นวิธีการสังเกตโรคเบื้องต้นที่ง่าย และทำให้สามารถเตรียมรับมือ หรือแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ทันท่วงที

สีปัสสาวะ แต่ละสี จะบ่งบอกโรคอะไรได้มั่งนะ มาดูกันจ้า

1. สีฉี่ปกติ

ตามปกติแล้ว ฉี่จะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้มใส ไม่ขุ่น โดยความความอ่อนเข้มจะขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มน้ำในแต่ละวัน หากดื่มน้ำมาก สีปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน ถ้าดื่มน้ำน้อย สีปัสสาวะจะเหลืองเข้มใส แต่ถ้าสีฉี่ของคุณนอกเหนือไปจากนี้แล้วละก็ แสดงว่าคุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งอยู่ก็ได้

2. สีเหลือง น้ำชาแก่ ดื่มน้ำน้อย

3. สีเหลืองอ่อน ปกติ

4. สีเหลืองน้ำตาล/เหลืองเขียว ดีซ่าน (โรคตับ/่ท่อน้ำดี)

โดยทั่วไปจะหมายความว่าคุณดื่มน้ำน้อยเกินไป แต่ถ้าคุณมั่นใจว่าดื่มน้ำมากพอ แต่ปัสสาวะยังเป็นสีเหลืองเข้มอยู่ คุณอาจมีโรคไตแฝงมาแล้วก็ได้ ถ้ามีอาการตัวเหลืองร่วมด้วย ก็สามารถหมายถึงภาวะดีซ่านได้ ส่วนปัสสาวะสีเหลืองอ่อน ให้สังเกตว่าร่างกายได้รับวิตามินบี 2 มากเกินไปจนต้องขับออกจากร่างกายหรือไม่ คุณเท่านั้นที่รู้ดีที่สุด

5. สีเหลืองขมิ้น อาจแปลว่า ตับมีปัญหา

6. สีเหลืองอำพันแดง อาจแปลว่า เม็ดเลือดแดงในเส้นเลือดแตก

7. สีขาวขุ่น

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ท่อน้ำเหลืองอุดตัน หรือ ติดเชื่อ หรือ อาจหมายถึงการทานอาหารมากเกินไป และมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน

8. มีตะกอนสีชมพู โรคเก๊า

9. มีไขสีขาวออกมาด้วย ไตวาย

10. มีน้ำตาลออกมาด้วย อาจหมายถึง เบาหวาน

11. สีน้ำล้างเนื้อ แผลทางเดินปัสสาวะ หรือ นิ่ว

ก่อนที่จะแตกตื่นเพราะสีอันแสนน่ากลัวนี้ ขอให้ลองนึกดูให้ดีก่อนว่า คุณได้ทานผักผลไม้ที่มีสีแดง เช่น แบล็กเบอร์รี่ บีทรูท หรือยาที่ส่งผลให้ฉี่มีสีแดงหรือไม่ ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้กิน คุณก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายแล้วละ เพราะฉี่สีอมแดง คือสัญญาณที่บอกว่า มีเม็ดเลือดแดงในเส้นเลือดแตกมากกว่าปกติ และยังหมายถึงการมีเลือดออกบริเวณทางเดินปัสสาวะซึ่งเป็นอาการของโรคต่าง ๆ เช่น นิ่ว เนื้องอก การติดเชื้อทางเดินระบบปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และยังหมายถึงว่าอวัยวะภายในร่างกายเกิดการฉีกขาดได้อีกด้วย

12. ปัสสาวะเป็นสีเลือด , ไตอักเสบ , นิ่ว , มะเร็ง

นอกจากสีฉี่แล้ว การสังเกตอาการร่วม หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ๆ เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อยขึ้น มีอาการปวดแสบขัดเวลาปัสสาวะ ปวดเอวหรือท้องน้อย รวมไปถึงชนิดของอาหาร และยาที่รับประทาน ก็สามารถทำให้คุณประเมินระดับสุขภาพของคุณได้อย่างคร่าว ๆ ว่าปกติดี หรือว่ามีปัญหาจนต้องไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

ขอขอบคุณ : gedgoodlife

แสดงความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่