๑๐ คำสอนของในหลวง รัชกาลที่ ๙ น้อมนำมาใช้ในชีวิตและการทำงาน
คำสอนของพ่อ : การรู้จักใช้เงิน
“…ถ้าเราสะสมเงินให้มาก เราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ยโดยไม่แตะต้อง
ทุน ถ้าเราใช้มากเกินไปหรือเราไม่ระวัง เรากินเข้าไปเป็นทุน ทุนมันก็น้อยลงๆ จนหมด…”
พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘
คำสอนของพ่อ : การรู้จักนับถือความรู้
“…เราเป็นนักเรียน เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ… ถ้าหากว่าในด้านไหนก็ตาม เวลาไปปฏิบัติให้ถือว่า
เราเป็นนักเรียน ชาวบ้านเป็นครูหรือ ‘ธรรมชาติเป็นครู’ การที่ท่านทั้งหลายจะออกไป ก็จะไปหลายๆด้าน
… ก็จะต้องเข้าใจว่า เราอาจจะเอาความรู้ไปให้เขา แต่ก็ต้องนับถือความรู้ของเขาด้วย จึงจะมีความสําเร็จ
…”
พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตอาสาสมัครพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดําริอําเภอเมือง จังหวัด สกลนคร เมื่อวันที่
๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๐
คำสอนของพ่อ : การมีเสรีภาพ
“…การมีเสรีภาพนั้นเป็นของดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้จําเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและ ความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น ที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึง สวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้น จะทําให้มีความยุ่งยากจะทําสังคมและ ชาติประเทศต้องแตกสลายโดยสิ้นเชิง …”
พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแถลงการณ์สภาการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สวชพ.) เรื่อง ‘การใช้เสรีภาพเพื่อการปรองดองสมานฉันท์’ เนื่องในวันนักข่าว เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๐
คำสอนของพ่อ : การคิดก่อนพูด
“…หลักของคุณธรรมคือ การคิดด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ก่อนจะพูดจะทําสิ่งไร จําเป็นต้อง หยุดคิดเสียก่อน เพื่อรวบรวมสติให้ตั้งม่ัน และจิตสว่างแจ่มใส ซึ่งเมื่อฝึกหัดคุ้นเคยชํานาญแล้ว จะกระทําได้คล่องแคล่วช่วยให้สามารถแสดงความรู้ความคิดในเรื่องต่างๆ ให้ผู้ฟังได้เข้าใจได้ง่าย ได้ชัด ไม่ผิด ทั้งหลักวิชา ทั้งหลักคุณธรรม…”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๕
คำสอนของพ่อ : ความเจริญในการทำงาน
“… ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นหลักสําคัญ ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบ และหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้งวิชาความรู้
ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยสําคัญสําหรับใช้กระทําการทํางาน สิ่งหลัง เป็นปัจจัยสําคัญสําหรับส่งเสริมความประพฤติและการปฏิบัติงานให้ชอบคือให้ถูกต้องและเป็นธรรม”
พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนา อิสลาม ๔ จังหวัดภาคใต้จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๙
คำสอนของพ่อ : ความพอเพียง
“…ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้า ใส่เอง อย่างนั้นมันมากเกินไป แต่ในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง มากนัก …มีเงินเดือนเท่าไหร่จะต้องใช้ภายในเงินเดือน…กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์มิใช่กู้สําหรับ ไปเล่น ไปทําอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์…”
พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
คำสอนของพ่อ : ชาติบ้านเมืองคืออวัยวะ
“…ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานาสถาบัน อันเปรียบได้กับอวัยวะทั้งปวง ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย ชีวิตร่างกายดํารงอยู่ได้เพราะอวัยวะใหญ่น้อยทํางานเป็นปรกติพร้อมกันอย่างไร
ชาติบ้านเมือง ก็ดํารงอยู่ได้เพราะสถาบันต่างๆ ตั้งมั่นและปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยพร้อมมูลอย่างนั้น…”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตํารวจและอาสาสมัครพลเรือนในพิธีตรวจพลสวนสนามในงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน
พ.ศ.๒๕๑๔
คำสอนของพ่อ : คนดี
“…ในบ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดีไม่มีใครที่จะทําให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทําให้ บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทําให้ทุกคนเป็นคนดีหากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดี ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้…”
พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมชนลูกเสือแห่งชาติค่ายลูกเสือวชิราวุธจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒
คำสอนของพ่อ : การทำหน้าที่ของข้าราชการ
“…ข้าราชการไม่ว่าจะอยู่ตําแหน่งใด ระดับไหน มีหน้าที่อย่างไร ล้วนแล้วแต่มีส่วนสําคัญ อยู่ในงานของแผ่นดินทั้งสิ้น ทุกคนจึงต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มกําลังความสามารถด้วยอุดมคติ
ด้วยความเข้มแข็งเสียสละและระมัดระวังให้การทุกอย่างในหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรงด้วยความระลึกรู้ตัว อยู่เสมอว่าการปฏิบัติตัว ปฏิบัติงานของตนมีผลเกี่ยวเนื่องถึงสุขทุกข์ของประชาชน ตลอดจน
ความเจริญขึ้นหรือเสื่อมลงของประเทศชาติ…”
พระบรมราโชวาทเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
คำสอนของพ่อ : ความสามัคคี
“…สามัคคีนี้ก็คือการเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิถีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้ เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และทํางานด้วยการซื่อสัตย์สุจริต ต้องส่งเสริมงานของกัน และกัน และไม่ทําลายงานของกันและกัน มีเรื่องอะไรให้ได้พูดปรองดองกัน อย่าเรื่องใครเรื่องมัน และงานก็ทํางานอย่างตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม…”
พระราชดํารัสที่พระราชทานในพิธีประดับยศนายตํารวจชั้นนายพล เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙