รู้ไว้ไม่เสียหาย!! หากเสียชีวิต.. ขอเบิกเงินได้ “1แสนบาท” จาก “กระทรวงยุติธรรม”ของทุกจังหวัด
วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาแนะนำเพื่อนอีกตามเคย ถ้าอ่านแล้วมีประโยชน์ อย่าลืมกดแชร์เพื่อบอกต่อให้คนอื่นๆรู้ด้วยนะ
หลักเกณฑ์การขอรับเงินค่าตอบแทนและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544
เมื่อได้บาดเจ็บหรือตายจากการกระทำผิดทางอาญาของบุคคลอื่นผู้เสียหายขอรับทางอาญาของบุคคลอื่น ผู้เสียหายขอรับค่าตอบแทนจากรัฐได้และเมื่อได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย หรือจิตใจหรือถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากถูกข่มขืน ถูกทุบตี หรือฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ ถูกลูกหลงถูกทำให้แท้งลูกหรือได้รับบาดเจ็บหรือตายจากการกระทำจากบุคคลอื่น
คนชราหรือคนป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และถูกทอดทิ้งเมื่อเกิดเหตุให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. แจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ ท้องที่ที่เกิด
2. พบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษา กรณีตายให้แจ้งเพื่อออก
ใบมรณบัตร
3. รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
4. ยื่นคำรับเงินค่าตอบแทนภายใน 1 ปี นับจากวันที่เกิดเหตุ
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้เสียหาย
กรณีทั่วไป
1. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท
2. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท
3. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ อัตราวันละไม่เกิน 20,000 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
4. ค่าตอบแทนความเสีหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท
กรณีเสียชีวิต
1.ค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
2.ค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท
3.ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 30,000 บาท
4.ค่าความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
เมื่อศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องจำเลยขอรับค่าทดแทนจากรัฐได้
เมื่อถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังในระหว่างที่ศาลพิจารณาคดี ต่อมาปรากฏ
ข้อเท็จว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด มีการถอนฟ้องระหว่างการพิจารณาคดีหรือศาลพิจารณาแล้วว่าข้อเท็จจริง
ที่ปรากฏ จำเลยไม่ได้กระทำผิดและมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ยกฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติดังนี้
1.ติดต่อเจ้าพนักงานที่อ่านคำพิพากษาเพื่อขอคัดสำเนาเอกสาร โดยให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้อง ดังนี้
– สำเนาคำพิพากษาของศาลทุกศาลที่มีคำพิพากษา
– สำเนาหมายขัง หมายจำคุกและหมายปล่อย
– สำเนาใบแต่งทนายความ
– หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
2. สำเนาหนังสือว่าจ้างความกรณีที่ไม่ใช่ทนายขอแรง
3. รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
4. ยื่นคำขอรับเงินค่าทดแทนภายใน 1 ปี นับจากวันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของจำเลย
กรณีทั่วไป
1. ค่าทดแทนการถูกคุมขัง อัตราวันละ 200 บาท
2. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300,000 บาท ความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
3. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท ความเจ็บป่วยต้องเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
4. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดีอัตราวันละไม่เกิน 200 บาท นับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
– ค่าทนายความเท่าที่จ่ายจริงในอัตราไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด
– ค่าใช้จ่ายอื่นเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
กรณีเสียชีวิต
1. ค่าทดแทน จำนวน 100,000 บาท
2. ค่าจดการงานศพ จำนวน 20,000 บาท
3. ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท
4. ค่าความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก : servicelink2